วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21


                                                                                        โดย  นางวรรณี  เพ็งประไพ

                                                                                                นางกรุณา   หมวดมณี

           


สืบเนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  ส่งผลให้การดำเนินชีวิต  และลักษณะนิสัยของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปเช่นกัน  อาทิเช่น  เป็นผู้ที่เติบโตภายใต้สภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ภายใต้เครือข่ายการสื่อสารดิจิตอล  ชอบสื่อสารผ่านสื่อที่หลากหลาย  ทันสมัย  ชอบเรียนรู้ทันทีที่สงสัยหรือไม่เข้าใจ  ไม่จำกัดเวลาและสถานที่  ทนไม่ได้กับการรอคอย  ไม่ทันใจ  ชอบเรียนรู้เฉพาะที่ตนสนใจ  เป็นต้น  ผลที่เกิดขึ้นคือ  การจัดการศึกษาจะดำเนินการอย่างไรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งของผู้คนและสภาพสังคม  การศึกษาที่มีคุณภาพของศตวรรษที่  21  จึงต้องเป็นการเรียนมากกว่าการสอน  ครูเป็นผู้จุดประกายความคิด  เป็นผู้อำนวยความสะดวก  ให้คำปรึกษา  เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า  สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทั้งต่อตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  และสังคม  รูปแบบของโรงเรียนในศตวรรษที่  21  จึงต้องเปลี่ยนไปจากเดิมดังนี้


โรงเรียนในศตวรรษที่  20
โรงเรียนในศตวรรษที่  21
1.  โรงเรียนเป็นรูปแบบของโรงงาน
1.  โรงเรียนเป็นรูปแบของชุมชนแห่งการเรียนรู้
2.   เด็กเรียนในสิ่งที่ครูอยากให้เรียนรู้
2.  เด็กเรียนรู้วิธีการสอน
3.  การสอนเป็นการบอกเล่าของครู
3.  การสอนของครูเป็นการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
4.  ขอบเขตของการเรียนรู้ถูกปิดกั้น
4.  ขอบเขตของการเรียนรู้เปิดกว้าง
5.  เป็นเอกัตบุคคลนิยม
5.  เป็นหมู่พวกนิยมและชุมชน
6.  ครูเป็นผู้ป้อนปัญหาและนิยามบริบทการเรียนรู้
6.  ผู้เรียนช่วยกันป้อนปัญหาและรับผิดชอบบริบทการเรียนรู้
7.  เน้นการแก้ปัญหาแบบเอกนัย (หาคำตอบทางเดียว)
7.  การแก้ปัญหาเน้นทั้งเอกนัยและอเนกนัย
8.  สภาพการเรียนเป็นแบบการแข่งขัน  มีผู้แพ้  ผู้ชนะ
8.  สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นรูปแบบความร่วมมือ  และความช่วยเหลือกัน  ชนะหรือแพ้ด้วยกัน
9.  ผู้ปกครองอยู่นอกแวดวงความสัมพันธ์และกระบวนการเรียนรู้ในระบบของเด็ก
9.  ผู้ปกครองหรือบิดามารดา  เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ในระบบของเด็ก
10.  ความยืดหยุ่นในหลักสูตรมีน้อยเน้นตามหลักสูตรแกนกลางที่จัดให้
10.  สามารถปรับหลักสูตรแกนกลางให้เข้ากับสภาพท้องถิ่นมากขึ้น


 ที่มา  เอกสารการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

1 ความคิดเห็น:

ข่าวการศึกษา